ภาควิชาพระพุทธศาสนา

    ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
   มีความมุ่งมั่นที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง เข้าใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม  และธรรมชาติ ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้  ความเข้าใจ  และมีความสามารถด้านพระพุทธศาสนาทั้งด้านวิชาการและภาคปฏิบัติ มีหลักวิชาการที่นิสิตสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านอื่น ๆ  ตามหลักการศึกษาสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ  และสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาชีวิตและพัฒนาสังคมประเทศชาติได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

พุทธศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี)

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยมีการสอนทั้งทฤษฎีและหลักการปฏิบัติด้านพระพุทธศาสนา  เสริมสร้างศักยภาพให้นิสิตทั้งพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์สามารถนำความรู้ด้านพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่แขนงต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สังคมประเทศชาติและปรับศักยภาพความรู้ความสามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและ ประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญ
     มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป มหาวิทยาลัย มีปณิธานอันมั่งคงในการที่จะเป็นศูนย์รวมแห่งวิทยาการด้านต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์ มุ่งมั่นในการทำหน้าที่ให้การศึกษา ค้นคว้า วิจัย แสวงหาความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนาและสามารถเล่าเรียนวิชาการทางด้านการประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาต่างๆ ตอบสนองความต้องการของสังคม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัยและพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นสากล อีกทั้งจะทำหน้าที่เป็นแหล่งให้บริการความรู้เกี่ยวกับกับ วิชาการทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนามวลมนุษย์ สังคม และ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รูปแบบของหลักสูตร

    -รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
    -ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี)  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    -ภาษาที่ใช้   ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    -การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
    -ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    -การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  คือ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๑๔๐ หน่วยกิต  หลักสูตรระดับปริญญาตรี ๔ ปี พร้อมทั้งปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี สำหรับบรรพชิตหรือการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สำหรับฆราวาส

โครงสร้างหลักสูตร
๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ๓๐ หน่วยกิต
         ๑.๑ วิชาบังคับ                               ๑๘ หน่วยกิต
         ๑.๒ วิชาเลือก                                ๑๒ หน่วยกิต
๒) หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔    หน่วยกิต
        ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา            ๓๐ หน่วยกิต
        ๒.๒ วิชาแกนพระพุทธศาสนา           ๓๓ หน่วยกิต
        ๒.๓ วิชาเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา    ๓๒ หน่วยกิต
        ๒.๔ วิชาเลือกเฉพาะพระพุทธศาสนา    ๙ หน่วยกิต
๓) หมวดวิชาเลือกเสรี   ๖ หน่วยกิต
       รวม                                      ๑๔๐    หน่วยกิต

การทำโครงงานหรืองานวิจัย  

     ข้อกำหนดในการทำโครงงาน ต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ โดยต้องมีผลงานออกมาสู่สาธารณะชนและคาดว่าจะนำไปใช้งานหากโครงงานสำเร็จ โดยมีจำนวนผู้ร่วมโครงงาน   ๒-๓ คน และมีรายงานที่ต้องนำส่งตามรูปแบบและระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด อย่างเคร่งครัด หรือเป็นโครงงานที่ มุ่งเน้นการสร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านพระพุทธศาสนา

    โครงงานภาควิชาพระพุทธศาสนาที่นิสิตสนใจ สามารถอธิบายทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงงาน มีขอบเขตโครงงานที่สามารถทำเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

มาตรฐานผลการเรียนรู้
    นิสิตสามารถทำงานเป็นทีม มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ โปรแกรม ในการทำโครงงาน และ โครงงานสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อได้

ช่วงเวลา     ภาคการศึกษาที่ ๒ ของปีการศึกษาที่ ๔

สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา

สาขาวิปัสสนาภาวนา เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนา คุณลักษณะของบัณฑิตให้ เป็นผู้นำทางด้านจิตใจ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญาอันชาญฉลาดประกอบด้วยเหตุผล มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีจนสามารถนำไปอบรมสั่งสอน บุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามหลักพระพุทธศาสนา

รูปแบบของหลักสูตร

    -รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
    -ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี)  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    -ภาษาที่ใช้   ภาษาไทย
    -การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
    -ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    -การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  คือ สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา

โครงสร้างหลักสูตร
๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ๓๐ หน่วยกิต
         ๑.๑ วิชาบังคับ                               ๑๘ หน่วยกิต
         ๑.๒ วิชาเลือก                                ๑๒ หน่วยกิต
๒) หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔    หน่วยกิต
        ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา            ๓๐ หน่วยกิต
        ๒.๒ วิชาแกน                                  ๓๓ หน่วยกิต
        ๒.๓ วิชาเฉพาะด้าน                        ๓๒ หน่วยกิต
        ๒.๔ วิชาเลือกเฉพาะสาขา                 ๙ หน่วยกิต
๓) หมวดวิชาเลือกเสรี   ๖ หน่วยกิต
       รวม                                      ๑๔๐    หน่วยกิต

     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๑๔๐ หน่วยกิต  หลักสูตรระดับปริญญาตรี ๔ ปี พร้อมทั้งปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี สำหรับบรรพชิตหรือการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สำหรับฆราวาส

ข้อกำหนดในการทำโครงงาน
       ต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์การปฏิบัติวิปัสสนากับศาสตร์สมัยใหม่ โดยต้องมีผลงานออกสู่สาธารณะชนและคาดว่าจะนำไปใช้งานหากโครงงานสำเร็จ โดยมีจำนวนผู้ร่วม โครงงาน ๒-๓ คน และมีรายงานที่ต้องนำส่งตามรูปแบบและระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด อย่างเคร่งครัด หรือ เป็นโครงงานที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านบาลีสันสกฤต
คำอธิบายโดยย่อ     โครงงานภาควิชาพระพุทธศาสนา สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนาที่นิสิตสนใจ สามารถอธิบายทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงงาน มีขอบเขตโครงงานที่สามารถทำเสร็จภายในระยะเวลาที่ก าหนด
มาตรฐานผลการเรียนรู้     นิสิตสามารถทำงานเป็นทีม มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ โปรแกรม ในการทำโครงงาน และโครงงานสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อได้
ช่วงเวลา     ภาคการศึกษาที่ ๒ ของปีการศึกษาที่ ๔

Bachelor of Arts in Buddhist Studies

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

สำนักงานศูนย์บัณฑิตศึกษา

หลักสูตรมุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้และเชี่ยวชาญในทางพระไตรปิฎก สามารถ วิจัย ค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความรู้ในพระไตรปิฎกและบริการสังคม ตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มุ่งให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการปรับให้เป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัย คือ “ผลิตบัณฑิต  วิจัยและพัฒนา ส่งเสริม พระไตรปิฎกศึกษาและบริการวิชาการแก่สังคม  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม”

ปรัชญา

จัดการศึกษาพระไตรปิฎกตามพระราชปณิธาน ผลิตผลงานวิชาการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคมให้อุดมไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรมอย่างยั่งยืน

รูปแบบของหลักสูตร

    -รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๒ ปี หรือไม่น้อยกว่า ๔ ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่เกิน ๑๐ ภาคการศึกษาปกติ(๕ปี)
    -ภาษาที่ใช้   การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย ส่วนตําราที่ใช้ในหลักสูตรเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    -การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตบรรพชิตและคฤหัสถ์ไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
    -ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอน เกี่ยวกับศาสนาเปรียบเทียบฯลฯ
    -การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียวคือ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๓๙ หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
๑) หมวดวิชาวิชาบังคับ
         ๑.๑ นับหน่วยกิต       ๙ หน่วยกิต
         ๑.๒ ไม่นับหน่อยกิต   (๑๕)* หน่วยกิต
๒) หมวดวิชาวิชาเอก    ๑๒ หน่วยกิต
๓) หมวดวิชาเลือก        ๖ หน่วยกิต
๔) วิทยานิพนธ์          ๑๒ หน่วยกิต
       รวม                  ๓๙    หน่วยกิต

การทำวิทยานิพนธ์

คําอธิบายโดยย่อ
    ๑ นิสิตจะเสนอหัวข้อและโครงร่างวิทยานิพนธ์ เพื่อขออนุมัติลงทะเบียนทําวิทยานิพนธ์ได้เมื่อศึกษารายวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ภาคการศึกษาปกติ และมีหน่วยกิตสะสมใน รายวิชาไม่น้อยกว่า ๙  หน่วยกิต
    ๒คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วย วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์
    ๓นิสิตมีสิทธิ์ขอสอบวิทยานิพนธ์ได้เมื่อศึกษารายวิชาครบตามที่กําหนดได้ค่าระดับ เฉลี่ยสะสมในรายวิชาไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ และทําวิทยานิพนธ์เสร็จสมบูรณ์ โดยใช้เวลาทําวิทยานิพนธ์ไม่ น้อยกว่า ๓ เดือน นับจากวันลงทะเบียนทําวิทยานิพนธ์เงื่อนไขอื่น ๆ เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตาม ระเบียบบัณฑิตวิทยาลัยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์
    ๔การเสนอหัวข้อและโครงรางวิทยานิพนธ์ การลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ การสอบ วิทยานิพนธ์  ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์

มาตรฐานผลการเรียนรู้

     นิสิตมีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ และหลักธรรมอย่างเป็นระบบ และมีหลักการ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ  ทั้งทางภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติเพื่อใช้ในการทําวิทยานิพนธ์ได้

พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

ความสำคัญ

หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา เป็นหลักสูตรแรกของคณะพุทธศาสตร์ ที่
จัดการเรียนการสอนในระดับดุษฎีบัณฑิต เพื่อตอบสนองปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ ๕ องค์ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย
ที่ประสงค์ให้เป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง และเป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎกอย่าง
ได้มาตรฐาน เพื่อเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์และบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเป็นระบบ

ปรัชญา

จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎก เพื่อพัฒนานิสิต ให้มีความรู้ความเข้าใจในพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง
ให้ประกอบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้น าทางปัญญา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและ
สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบของหลักสูตร

  – รายวิชาที่หลักสูตรกำหนดให้นิสิตต้องศึกษา คือ วิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ชั้นสูง วิชาสารัตถะพุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาวิปัสสนากรรมฐาน เป็นรายวิชาบังคับที่กำหนดให้นิสิตต้องเรียน
หลักสูตร
  – รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร ๓ – ๕ ปี
   – ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
  – เป็นการศึกษาแบบเต็มเวลาตามวันเวลาที่กำหนด ทั้งระบบในชั้นเรียนหรือระบบออนไซต์ และนอกชั้นเรียนหรือระบบออนไลน์
  -รับเข้าศึกษา เป็นชาวไทย และชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้
  – ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะคณะพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
   – การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

เกี่ยวกับการทำดุษฎีนิพนธ์
– นิสิตจะเสนอหัวข้อและโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เพื่อขออนุมัติลงทะเบียนท าดุษฎีนิพนธ์ได้เมื่อศึกษา รายวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ภาคการศึกษาปกติมีหน่วยกิตสะสมในรายวิชาไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต และต้องผ่านการสอบวัดคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว
– คณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์
– นิสิตมีสิทธิ์ขอสอบดุษฎีนิพนธ์ได้เมื่อศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมในรายวิชาไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ และท าดุษฎีนิพนธ์เสร็จสมบูรณ์โดยใช้เวลาท าดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๕ เดือน นับจากวันลงทะเบียนทำดุษฎีนิพนธ์เงื่อนไขอื่น ๆ เกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์
– การเสนอหัวข้อและโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ การลงทะเบียนดุษฎีนิพนธ์ การสอบดุษฎีนิพนธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์

มาตรฐานผลการเรียนรู้ นิสิตมีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและ หลักธรรมอย่างเป็นระบบ และมีหลักการ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อใช้ ในการทำดุษฎีนิพนธ์ได้