ประวัติคณะพุทธศาสตร์

       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในครั้งแรกได้ทรงพระราชทานนามว่า “มหาธาตุวิทยาลัย”
       มหาธาตุวิทยาลัย เปิดสอนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙  โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎก และวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์
       เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้จัดประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย   จำนวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงระดับมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะแรกที่เปิดสอน คือ คณะพุทธศาสตร์

     ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐  ปี ที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ผลิตบัณฑิตตามพันธกิจเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และให้บริการวิชาการแก่สังคม จากการที่มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคม ประเทศชาติและพระศาสนา รัฐบาลได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ ให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยนี้ จึงมีชื่อตามกฎหมายว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”    คณะพุทธศาสตร์ เป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ที่เปิดการศึกษาเน้นหนักในด้านภาษาบาลี พระพุทธศาสนา ศาสนาและปรัชญา ในชั้นแรกแบ่งหลักสูตรออกเป็น ๔ ภาควิชา คือ :-
           ๑.  ภาควิชาภาษาบาลี
           ๒.  ภาควิชาพระพุทธศาสนา
           ๓.  ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
           ๔.  ภาควิชาภารตวิทยา
        ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีผู้สำเร็จปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) รุ่นแรก จำนวน ๔ รูป   และอนุปริญญา (อนุ พธ.บ.) จำนวน  ๒ รูป  

       คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งการศึกษาออกเป็น ๓ ภาควิชา  มี  ๗ สาขาวิชาเอก และ ๒ สาขาวิชาโท ดังต่อไปนี้ :-
        ๑. ภาควิชาพระพุทธศาสนา
        –    สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
        –    สาขาวิชาพระอภิธรรม
        –    สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
        –    วิชาโทโบราณคดี
        –    บัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสนามหาบัณฑิต  สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
        ๒. ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
        –    สาขาวิชาศาสนา
        –    สาขาวิชาปรัชญา
        –    สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
        –    บัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
        ๓. ภาควิชาบาลีและสันสกฤต
        –    สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
        –    สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์
        –    สาขาวิชาภาษาบาลี
        –    สาขาวิชาบาลีสันสกฤต
        –    วิชาโทภาษาฮินดี
        –    หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาบาลี

     ในปัจจุบันนี้  คณะพุทธศาสตร์  เปิดสอนระดับปริญญาตรี ๗ สาขาวิชา  ระดับปริญญาโท ๒ สาขาวิชา และหลักสูตรประกาศนียบัตร ๓ หลักสูตร คือ
       ๑. ภาควิชาพระพุทธศาสนา
           -พุทธศาสตรบัณฑิต
               – สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
               – สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
          -พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
               – สาขาวิชาพระไตรปิฏกศึกษา
          -พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
               – สาขาวิชาพระไตรปิฏกศึกษา
         -ใบประกาศนียบัตร
               – หลักสูตรประกาศนียบัตรพระพุทธศาสนา (ป.พศ.)
               – หลักสูตรประกาศนียบัตรวิปัสสนากัมมัฎฐาน (ป.วน.)
               – หลักสูตรประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา (ป.ตศ.)
       ๒. ภาควิชาศาสนาและปรัชญา     
           -พุทธศาสตรบัณฑิต
             – สาขาวิชาศาสนา
             – สาขาวิชาปรัชญา
             – สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
             – สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา (เปิดปี ๒๕๖๕)
             – สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา  (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
          -พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
             – สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (บัณฑิตศึกษา)
          -พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
             – สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
       ๓. ภาควิชาบาลีและสันสกฤต
           -พุทธศาสตรบัณฑิต
              – สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต
          -ใบประกาศนียบัตร
             – หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาบาลี  (ป.บล.)

คณะพุทธศาสตร์
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.