สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

ภาควิชาพระพุทธศาสนา (บัณฑิตศึกษา หลักสูตรปริญญาเอก)​
    หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา เป็นหลักสูตรแรกของคณะพุทธศาสตร์ ที่จัดการเรียนการสอนในระดับดุษฎีบัณฑิต เพื่อตอบสนองปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ ๕ องค์ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย ที่ประสงค์ให้เป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง และเป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎกอย่างได้มาตรฐาน เพื่อเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์และบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเป็นระบบ
ชื่อปริญญา
 พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระไตรปิฎกศึกษา)
พธ.ด. (พระไตรปิฎกศึกษา) 
คณะพุทธศาสตร์
Faculty of Buddhism
สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
Doctor of Buddhism (Tipitaka Studies)

ปรัชญาหลักสูตร

     จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎก เพื่อพัฒนานิสิต ให้มีความรู้ความเข้าใจในพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้งให้ประกอบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบของหลักสูตร

  • รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร ๓ – ๕ ปี
  • ภาษาที่ใช้ การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
  • การรับเข้าศึกษา รับผู้เข้าศึกษาเป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้
  • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

จุดเด่น สาขาวิชา

     หลักสูตรที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถในการนำหลักธรรมพระไตรปิฎกไปใช้กับตนเองและผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง และสามารถประยุกต์ใช้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในปัจจุบัน
ผลการเรียนรู้
การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต
ความรู้ดี (knowledgeable Requirement)
มีการส่งเสริมให้นิสิตเรียนรู้ในรายวิชาอย่างครบถ้วน และเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้สามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
มีคุณธรรม (Virtuous Requirement)
     มีการส่งเสริมให้นิสิตมีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตอาสา และบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม พระพุทธศาสนาและประเทศชาติตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสม
นำสันติสุข (Peaceful Requirement)
    มีการส่งเสริมให้นิสิต นำหลักธรรมในพระไตรปิฎก ไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดสันติสุขแก่ตนเองและสังคม
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

แบบ ๑.๑
๑. มีเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๖ ภาคการศึกษาปกติ หรือไม่เกินกว่า ๑๐ ภาคการศึกษาปกติ
๒. ศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบถ้วนและถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๓. ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับ
๔. ได้ระดับไม่ต่ำกว่า B ในรายวิชาบังคับและวิชาเอกทุกวิชา และได้รับ S ในกรณีที่หลักสูตรกำหนดให้วัดผลเป็น S หรือ U
๕. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ในรายวิชาตามที่คณะกรรมบริหารหลักสูตรกำหนด
๖. นำเสนอดุษฎีนิพนธ์ (Public Hearing) ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและสาธารณชน
๗. สอบผ่านการประเมินผลดุษฎีนิพนธ์ และส่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
๘. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
๙. สอบผ่านภาษาอังกฤษ และเลือกสอบภาษาต่างประเทศอีก ๑ ภาษา คือ ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน, หรือภาษาฝรั่งเศส, นิสิตชาวต่างประเทศที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ สามารถเลือกภาษาไทย
๑๐. ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

แบบ ๒.๑
๑. มีเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๖ ภาคการศึกษาปกติ หรือไม่เกินกว่า ๑๐ ภาคการศึกษาปกติ
๒. ศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบถ้วนและถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๓. ได้หน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๔. ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับ
๕. ได้ระดับไม่ต่ำกว่า B ในรายวิชาบังคับและวิชาเอกทุกวิชา และได้รับ S ในกรณีที่หลักสูตรกำหนดให้วัดผลเป็น S หรือ U
๖. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ในรายวิชาตามที่คณะกรรมบริหารหลักสูตรกำหนด
๗. นำเสนอดุษฎีนิพนธ์ (Public Hearing) ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและสาธารณชน
๘. สอบผ่านการประเมินผลดุษฎีนิพนธ์ และส่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
๙. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
๑๐. สอบผ่านภาษาอังกฤษ และเลือกสอบภาษาต่างประเทศอีก ๑ ภาษา คือ ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน, หรือภาษาฝรั่งเศส, นิสิตชาวต่างประเทศที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ สามารถเลือกภาษาไทย
๑๑. ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

จบแล้วสามารถทำอาชีพอะไร

เรียนสาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษาจบแล้ว อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

จำนวนผู้เข้า : 136