สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

ภาควิชาศาสนาและปรัชญา (บัณฑิตศึกษา หลักสูตรปริญญาโท)​
หลักสูตรเน้นการพัฒนาทั้งปัจเจกบุคคล องค์กรทางศาสนา และสังคม ให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในทางศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์และวิจัยวิชาการด้านศาสนาได้อย่างแตกฉาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำสังคมด้านจิตใจและปัญญา สามารถนำหลักธรรมคำสอนศาสนาต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาชีวิตเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา นิกาย และสร้างสันติภาพเสริมสันติสุขแก่สังคม
ชื่อปริญญา
 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสนาเปรียบเทียบ)
พธ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ) 
คณะพุทธศาสตร์
Faculty of Buddhism
สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
 Master of Arts (Comparative Religion)

ปรัชญาหลักสูตร

สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาในสังคมร่วมสมัย  เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการและเสริมสร้างสันติสุขแก่สังคม  โดยการกระตุ้นสร้างแรงจูงใจให้ทุกศาสนาหันมาศึกษาศาสนาของตนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วหันไปแสวงหาความร่วมมือระหว่างศาสนาโดยวิธีการสานเสวนาทางศาสนา เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่สันติสุขและยั่งยืน

รูปแบบของหลักสูตร

  • รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร ๒ ปี หรือไม่น้อยกว่า ๔ ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่เกิน ๑๐ ภาคการศึกษาปกติ (๕ ปี)
  • ภาษาที่ใช้ การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
  • การรับเข้าศึกษา รับผู้เข้าศึกษาเป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้
  • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

จุดเด่น สาขาวิชา

การพัฒนาทั้งปัจเจกบุคคล องค์กรทางศาสนา และสังคม ให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในทางศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์และวิจัยวิชาการด้านศาสนาได้อย่างแตกฉาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำสังคมด้านจิตใจและปัญญา สามารถนำหลักธรรมคำสอนศาสนาต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาชีวิตท าความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา นิกาย และสร้างสันติภาพ และเสริมสันติสุขแก่สังคม
ผลการเรียนรู้
การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต
1 M – Morality มีมารยาททางกายและวาจาที่เหมาะสมตามกาลเทศะ
มีการฝึกฝนด้านระเบียบวินัยกิริยามารยาททั้งทางกายและวาจาที่เหมาะสม เช่น การแต่งกาย การพูด
2 A – Awareness รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทางสังคม
มีการส่งเสริมให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมปัจจุบันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี
3 H – Helpfulness มีศรัทธา อุทิศตนเพื่อ พระพุทธศาสนาและการศึกษาไตรปิฎก
มีการส่งเสริมให้นิสิตมีศรัทธาอุทิศตนเพื่อท างานเผยแผ่ พระพุทธศาสนา โดยการให้ออกค่ายบัณฑิตอาสาพัฒนา ชุมชน
4 A – Ability มีความสามารถในการแก้ปัญหา
 มีการส่งเสริมให้นิสิตมีทักษะในการแก้ปัญหาตนเองและ สังคม โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากกรณีปัญหา (Problem-Based Learning: PBL) เพื่อน าไปสู่การคิด แก้ไขปัญหานั้น ๆ ตามหลักพุทธธรรม
5 C – Curiosity มีความใฝ่รู้ใฝ่คิด
มีการส่งเสริมให้นิสิตเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความใฝ่รู้ใฝ่คิด โดยมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าวิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจารณ์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคม
6 H - Hospitality มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวม
 มีการส่งเสริมให้นิสิตมีจิตอาสาในการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เช่น จัดกิจกรรมสังคม สงเคราะห์
7 U – Universality มีโลกทัศน์กว้างไกล
มีการส่งเสริมให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ด้านพระไตรปิฎกศึกษาและสังคม
8 L – Leadership มีความเป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา
มีการส่งเสริมให้นิสิตวางตนเป็นแบบอย่างด้านจิตใจและ ปัญญา
9 A – Aspiration มีความมุ่งมั่นพัฒนาตนให้ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม
มีการส่งเสริมให้นิสิตฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยการบูรณาการหลักคุณธรรมจริยธรรมไว้ในในรายวิชาต่างๆ
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

แผน ก แบบ ก (๒)
๑) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้ง เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
๒) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
๓) เกณฑ์อื่นๆ ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภาคผนวก ค)

แผน ข
๑) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้อง ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบ ประมวลความรู้ (Comprehensive
Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น
๒) เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และรายงานการค้นคว้าอิสระ หรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
๓) เกณฑ์อื่นๆ ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภาคผนวก ค)

จบแล้วสามารถทำอาชีพอะไร

เรียนสาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบศึกษาจบแล้ว อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

คณะพุทธศาสตร์
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.