สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ภาควิชาพระพุทธศาสนา
          หลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาโดยมีการสอนทั้งทฤษฎีและหลักการปฏิบัติด้านพระพุทธศาสนา เสริมสร้างศักยภาพให้นิสิตทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ สามารถนำความรู้ด้านพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชื่อปริญญา
พุทธศาสตรบัณฑิต พระพุทธศาสนา
พธ.บ. (พระพุทธศาสนา)
คณะพุทธศาสตร์
Faculty of Buddhism
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
Major: Buddhist Studies

ปรัชญาหลักสูตร

         จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ดี มีศีลธรรม นำสังคมสู่สันติสุข

รูปแบบของหลักสูตร

  • รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
  • ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี)  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
  • ภาษาที่ใช้   ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
  • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  คือ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

**จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๑๔๐ หน่วยกิต  หลักสูตรระดับปริญญาตรี ๔ ปี พร้อมทั้งปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี สำหรับบรรพชิตหรือการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สำหรับฆราวาส

จุดเด่น สาขาวิชา

      มุ่งเน้นการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ ให้มีความรู้ คุณธรรมและทักษะในการบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาชีวิต สังคม ควบคู่กับการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสังคมไทย ป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม สร้างสังคมสุจริต ส่งเสริมทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ผลการเรียนรู้
การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต
ด้านความรู้มีทักษะการสื่อสาร
มีเทคนิคกระบวนการสอน เพื่อให้นิสิตมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กร รวมทั้งพัฒนาตนเองและพัฒนาการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ด้านศีลธรรมมีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะรับใช้สังคม
มีเทคนิคกระบวนการสอน เพื่อให้นิสิตมีจิตสาธารณะด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม องค์กรและสิ่งแวดล้อม
ด้านปัญญามีความรอบรู้ในวิชาการทางพระพุทธศาสนา สามารถนำเอาองค์ความรู้ประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีเทคนิคกระบวนการสอน เพื่อให้นิสิตมีทักษะการใช้ชีวิตพัฒนาจิตใจและสังคม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

นิสิตผู้สำเร็จการศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    (๑) สอบได้หน่วยกิตสะสมครบตามหลักสูตรที่เข้าศึกษาภายในระยะเวลาไม่เกิน ๒ เท่า ของเวลาการศึกษาตามหลักสูตรและมีค่าเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
    (๒) ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    (๓) ไม่มีพันธะด้านหนี้สินใด ๆ กับมหาวิทยาลัย

จบแล้วสามารถทำอาชีพอะไร

เรียนสาขาวิชาพระพุทธศาสนาจบแล้ว อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา