สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา

ภาควิชาพระพุทธศาสนา (บัณฑิตศึกษา หลักสูตรปริญญาโท)​
    การศึกษาพระไตรปิฎกอย่างถูกต้องของคนไทยจึงมีความสำคัญต่อการเกิดขึ้น ดำรง อยู่และพัฒนาต่อไปของตัวปัญหาและการแก้ปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีผลกระทบจากโลกไร้พรหมแดนที่ทุกคนในทุกที่ทุก สังคมและวัฒนธรรมสามารถเข้าถึงและสื่อสารกันได้โดยสะดวก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนในสังคมไทยในยุคปัจจุบันโอกาสหันเข้ามาศึกษาพระไตรปิฎกกันมากขึ้นเพื่อประโยชน์ทั้งในการศึกษา หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา และการนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตและสังคมรวมถึงเพื่อศึกษาถึงอัตลักษณ์ความเป็นชาวพุทธวิถีทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในอดีตมาจนถึงปัจจุบันในแนวทางที่ถูกต้อง และสามารถที่จะพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่ในฐานะสมาชิกของสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
ชื่อปริญญา
 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระไตรปิฎกศึกษา)
พธ.ม. (พระไตรปิฎกศึกษา) 
คณะพุทธศาสตร์
Faculty of Buddhism
สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
 Master of Arts (Tipitaka Studies)

ปรัชญาหลักสูตร

     ศึกษาพระไตรปิฎกตามพระราชปณิธาน ผลิตงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม พัฒนาองค์ความรู้คู่คุณธรรมจริยธรรม

รูปแบบของหลักสูตร

  • รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร ๒ ปี
  • ภาษาที่ใช้ การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
  • การรับเข้าศึกษา รับผู้เข้าศึกษาเป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้
  • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระไตรปิฎกศึกษา

จุดเด่น สาขาวิชา

     การศึกษาพระไตรปิฎกอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา และเอาธุระในทางการปฎิบัติคือการเผยแผ่หลักคำสอนในพระไตรปิฎกให้ผู้อื่นเพื่อเป็นการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมอันดีงามให้กับสังคมในทุกระดับชั้น

ผลการเรียนรู้
การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต
1 M – Morality มีมารยาททางกายและวาจาที่เหมาะสมตามกาลเทศะ
มีการฝึกฝนด้านระเบียบวินัยกิริยามารยาททั้งทางกายและวาจาที่เหมาะสม เช่น การแต่งกาย การพูด
2 A – Awareness รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทางสังคม
มีการส่งเสริมให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมปัจจุบันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี
3 H – Helpfulness มีศรัทธา อุทิศตนเพื่อ พระพุทธศาสนาและการศึกษาไตรปิฎก
มีการส่งเสริมให้นิสิตมีศรัทธาอุทิศตนเพื่อท างานเผยแผ่ พระพุทธศาสนา โดยการให้ออกค่ายบัณฑิตอาสาพัฒนา ชุมชน
4 A – Ability มีความสามารถในการแก้ปัญหา
 มีการส่งเสริมให้นิสิตมีทักษะในการแก้ปัญหาตนเองและ สังคม โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากกรณีปัญหา (Problem-Based Learning: PBL) เพื่อน าไปสู่การคิด แก้ไขปัญหานั้น ๆ ตามหลักพุทธธรรม
5 C – Curiosity มีความใฝ่รู้ใฝ่คิด
มีการส่งเสริมให้นิสิตเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความใฝ่รู้ใฝ่คิด โดยมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าวิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจารณ์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคม
6 H - Hospitality มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวม
 มีการส่งเสริมให้นิสิตมีจิตอาสาในการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เช่น จัดกิจกรรมสังคม สงเคราะห์
7 U – Universality มีโลกทัศน์กว้างไกล
มีการส่งเสริมให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ด้านพระไตรปิฎกศึกษาและสังคม
8 L – Leadership มีความเป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา
มีการส่งเสริมให้นิสิตวางตนเป็นแบบอย่างด้านจิตใจและ ปัญญา
9 A – Aspiration มีความมุ่งมั่นพัฒนาตนให้ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม
มีการส่งเสริมให้นิสิตฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยการบูรณาการหลักคุณธรรมจริยธรรมไว้ในในรายวิชาต่างๆ
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

แผน ก แบบ ก (๒)
๑) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้ง เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
๒) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
๓) เกณฑ์อื่นๆ ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภาคผนวก ค)

แผน ข
๑) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้อง ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบ ประมวลความรู้ (Comprehensive
Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น
๒) เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และรายงานการค้นคว้าอิสระ หรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
๓) เกณฑ์อื่นๆ ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภาคผนวก ค)

จบแล้วสามารถทำอาชีพอะไร

เรียนสาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษาจบแล้ว อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

จำนวนผู้เข้า : 139