สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

ภาควิชาศาสนาและปรัชญา (บัณฑิตศึกษา หลักสูตรปริญญาเอก)​
     การพัฒนาทั้งปัจเจกบุคคล องค์กรทางศาสนา และสังคม ให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในทางศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์และวิจัยวิชาการด้านศาสนาได้อย่างแตกฉาน มีคุณธรรมและจริยธรรม
ชื่อปริญญา
 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสนาเปรียบเทียบ)
พธ.ด. (ศาสนาเปรียบเทียบ) 
คณะพุทธศาสตร์
Faculty of Buddhism
สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
Doctor of Philosophy (Comparative Religions)

ปรัชญาหลักสูตร

    มุ่งพัฒนานิสิตให้ความรู้ตามหลักคำสอนศาสนา เสริมทักษะการอยู่ร่วมกัน นำสังคมสู่สันติสุข

รูปแบบของหลักสูตร

  • รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาเอก
  • ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
  • การรับเข้าศึกษา : ชาวไทยหรือชาวต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้
  • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาเดียว คือ สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

จุดเด่น สาขาวิชา

   ผู้นำสังคมด้านจิตใจและปัญญาสามารถนำหลักธรรมคำสอนศาสนาต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาชีวิตทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา นิกาย และสร้างสันติภาพเสริมสันติสุขแก่สังคม
ผลการเรียนรู้
การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต
1 M – Morality มีมารยาททางกายและวาจาที่เหมาะสมตามกาลเทศะ
2 A – Awareness รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทางสังคม
3 H – Helpfulness มีศรัทธา อุทิศตนเพื่อ พระพุทธศาสนาและการศึกษาไตรปิฎก
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

แผน ๑.๑ และ แผน ๑.๒
๑. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๒. ได้ค่าระดับเฉลี่ยหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ แต้ม
๓. ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติที่เกี่ยวกับบทความ จำนวน ๒ ชิ้น และสรุปรายงานการจัดกิจกรรมการสานเสวนาทางศาสนา หรือประสบการณ์กิจกรรมการประยุกต์ใช้ศาสนากับการพัฒนาสังคม (Religious Dialogue Experience) จำนวน ๑ ชิ้น
๔. ต้องนำเสนอดุษฎีนิพนธ์แบบประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ก่อนการสอบป้องกัน
๕. สอบผ่านการประเมินผลดุษฎีนิพนธ์ และส่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
๖. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการรับรองการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย ๒ เรื่อง
๗. ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ สอบผ้าน MCU-GET หรือ ผ่านการเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ MCU ๐๐๕ และ MCU ๐๐๖ จัดโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๘. ต้องเลือกสอบภาษาต่างประเทศอีก ๑ ภาษา คือ ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต, ภาษาเยอรมัน,
ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน, หรือภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น นิสิตชาวต่างประเทศที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ สามารถเลือกภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ
๙. ปฏิบัติกรรมฐาน สะสมวันได้ไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จึงจะมีสิทธิ์ขออนุมัติสำเร็จการศึกษาได้

แผน ๒.๑ และ แผน ๒.๒
๑. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๒. ได้ค่าระดับเฉลี่ยหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ แต้ม
๓. ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติที่เกี่ยวกับบทความ จำนวน ๒ ชิ้น และสรุปรายงานการจัดกิจกรรมการ
สานเสวนาทางศาสนา หรือประสบการณกิจกรรมการประยุกตใชศาสนากับการพัฒนาสังคม (Religious Dialogue Experience) จำนวน ๑ ชิ้น
๔. ต้องนำเสนอดุษฎีนิพนธ์แบบประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ก่อนการสอบป้องกัน
๕. สอบผ่านการประเมินผลดุษฎีนิพนธ์ และส่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
๖. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการรับรองการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง
๗. ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ สอบผ้าน MCU-GET หรือ ผ่านการเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ MCU ๐๐๕ และ MCU ๐๐๖ จัดโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๘. ต้องเลือกสอบภาษาต่างประเทศอีก ๑ ภาษา คือ ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต, ภาษาเยอรมัน,
ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน, หรือภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น นิสิตชาวต่างประเทศที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ สามารถเลือกภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ
๙. ปฏิบัติกรรมฐาน สะสมวันได้ไม่น้อยกว่า 45 วัน หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จึงจะมีสิทธิ์ขออนุมัติสำเร็จการศึกษาได้

จบแล้วสามารถทำอาชีพอะไร

เรียนสาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบศึกษาจบแล้ว อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา