ภาควิชาศาสนาและปรัชญา

สาขาวิชาศาสนา, สาขาวิชาปรัชญา,
สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา

พุทธศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี)

สาขาวิชาศาสนา

Imagesiz001

สาขาวิชาศาสนา เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในคัมภีร์ทางศาสนาและหลักวิชาการในด้านศาสนาต่างๆ มีการสอนทั้งทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ มุ่งเน้นความเข้าใจและสนับสนุนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศาสนาต่างๆ  โดยจัดกิจกรรมสานเสวนาทางศาสนา (Religious Dialogue) เสริมสร้างศักยภาพให้นิสิตสามารถนำความรู้ด้านศาสนาไปประยุกต์ใช้เพื่อทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาเพื่อสร้างสร้างสันติสุขแก่มนุษย์สังคมทั้งในประเทศ ระดับประชาคมอาเซียนและระดับโลกต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญา สืบสานและศึกษาความสำคัญของศาสนาและปรัชญาของศาสนาต่างๆ เชิงบูรณาการกับประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมและประเทศต่อไป

ความสำคัญ

   คุณค่าและความสำคัญในการศึกษาศาสนา มุ่งเน้นการศึกษาศาสนาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้ง รวมถึงการปฏิบัติการจริงด้วยการประยุกต์ผ่านกิจกรรมและการวิจัยทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน โดยเน้นเนื้อหา ของชีวิตในมิติศาสนา สังคม  สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่างๆ  เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหา สังคมซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดหรือการรับรู้ข้อมูลผิดๆ  เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง รุนแรง  สาขาวิชาศาสนามีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเสนอการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อ เรียนรู้ทุกศาสนาอย่างปราศจากอคติ (Bias)

รูปแบบของหลักสูตร

    -รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
    -ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี)  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    -ภาษาที่ใช้   ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    -การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
    -ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    -การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  คือ สาขาวิชาศาสนา

     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๑๔๐ หน่วยกิต  หลักสูตรระดับปริญญาตรี ๔ ปี พร้อมทั้งปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี สำหรับบรรพชิตหรือการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สำหรับฆราวาส

โครงสร้างหลักสูตร
๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ๓๐ หน่วยกิต
         ๑.๑ วิชาบังคับ                               ๑๘ หน่วยกิต
         ๑.๒ วิชาเลือก                                ๑๒ หน่วยกิต
๒) หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔    หน่วยกิต
        ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา            ๓๐ หน่วยกิต
        ๒.๒ วิชาแกนศาสนา                      ๓๓ หน่วยกิต
        ๒.๓ วิชาเฉพาะด้านศาสนา               ๓๒ หน่วยกิต
        ๒.๔ วิชาเลือกเฉพาะสาขาศาสนา    ๙ หน่วยกิต
๓) หมวดวิชาเลือกเสรี   ๖ หน่วยกิต
       รวม                                      ๑๔๐    หน่วยกิต

การทำโครงงานหรืองานวิจัย  

     ข้อกำหนดในการทำโครงงาน ต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ โดยต้องมีผลงานออกมาสู่สาธารณะชนและคาดว่าจะนำไปใช้งานหากโครงงานสำเร็จ โดยมีจำนวนผู้ร่วมโครงงาน   ๒-๓ คน และมีรายงานที่ต้องนำส่งตามรูปแบบและระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด อย่างเคร่งครัด หรือเป็นโครงงานที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านศาสนาในระดับประชาคมอาเซียน

    โครงงานภาควิชาศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาศาสนาที่นิสิตสนใจ สามารถอธิบายทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงงาน มีขอบเขตโครงงานที่สามารถทำเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

มาตรฐานผลการเรียนรู้
    นิสิตสามารถทำงานเป็นทีม มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ โปรแกรม ในการทำโครงงาน และ โครงงานสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อได้

ช่วงเวลา    ภาคการศึกษาที่ ๒ ของปีการศึกษาที่ ๔

สาขาวิชาปรัชญา

สาขาวิชาปรัชญา เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะในด้านปรัชญา โดยมีการสอน มุ่งเน้นความรู้ด้าน ปรัชญาเสริมสร้าง ศักยภาพให้นิสิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  เพื่อพัฒนาองค์กรที่เกี่ยวข้องกับตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญา

    สาขาวิชาปรัชญา มุ่งให้ความรู้และความเข้าใจทฤษฎีของปรัชญา สร้างบัณฑิตที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล สามารถนำความรู้ทางปรัชญาไปประยุกต์ใช้เพื่อ ประโยชน์ตนเองและสังคม

ความสำคัญ

    สาขาวิชาปรัชญา เป็นแหล่งสร้างบัณฑิตที่มีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น ดำรงชีวิตอยู่ในพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข ใช้ความรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้นกับตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ตลอดทั้งสามารถใช้องค์ความรู้ทางปรัชญา ในการปฏิบัติงานและ แก้ปัญหาทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

รูปแบบของหลักสูตร

    -รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
    -ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี)  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    -ภาษาที่ใช้   ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    -การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
    -ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    -การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  คือ สาขาวิชาปรัชญา

      จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๑๔๐ หน่วยกิต  หลักสูตรระดับปริญญาตรี ๔ ปี พร้อมทั้งปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี สำหรับบรรพชิตหรือการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สำหรับฆราวาส

โครงสร้างหลักสูตร
๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ๓๐ หน่วยกิต
         ๑.๑ วิชาบังคับ                               ๑๘ หน่วยกิต
         ๑.๒ วิชาเลือก                                ๑๒ หน่วยกิต
๒) หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๔    หน่วยกิต
        ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา            ๓๐ หน่วยกิต
        ๒.๒ วิชาแกนปรัชญา                      ๓๓ หน่วยกิต
        ๒.๓ วิชาเฉพาะด้านปรัชญา               ๓๒ หน่วยกิต
        ๒.๔ วิชาเลือกเฉพาะสาขาปรัชญา    ๙ หน่วยกิต
๓) หมวดวิชาเลือกเสรี   ๖ หน่วยกิต
       รวม                                      ๑๔๐    หน่วยกิต

การทำโครงงานหรืองานวิจัย  

     ข้อกำหนดในการทำโครงงาน ต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ปรัชญากับศาสตร์สมัยใหม่ โดยต้องมีผลงานออกมาสู่สาธารณะชนและคาดว่าจะนำไปใช้งานหากโครงงานสำเร็จ โดยมีจำนวนผู้ร่วมโครงงาน   ๒-๓ คน และมีรายงานที่ต้องนำส่งตามรูปแบบและระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด อย่างเคร่งครัด หรือเป็นโครงงานที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านศาสนาในระดับประชาคมอาเซียน

    โครงงานภาควิชาศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาปรัชญาที่นิสิตสนใจ สามารถอธิบายทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงงาน มีขอบเขตโครงงานที่สามารถทำเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

มาตรฐานผลการเรียนรู้
    นิสิตสามารถทำงานเป็นทีม มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ โปรแกรม ในการทำโครงงาน และ โครงงานสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อได้

สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา

สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา

หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา มุ่งให้ความรู้และความเข้าใจหลักการทางศาสนาและปรัชญา สร้างบัณฑิตที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลและเข้าใจชีวิตที่ดีงาม ตามหลักศาสนา สามารถนำความรู้ทางศาสนาและปรัชญาไปประยุกต์ใช็เพื่อประโยชน์ตนเองและสังคม

ความสำคัญ

หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา เป็นแหล่งสร้างบัณฑิตที่มีเหตุผล และดำเนินชีวิตที่ดีงามตามหลักศาสนา ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ดำรงชีวิตอยู่ในพหุวัฒนธรรมได้
อย่างมีความสุข ใช้ความรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ตลอดทั้งสามารถใช้องค์ความรู้ทางศาสนาและปรัชญา ในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

Bachelor of Arts in Religion and Philosophy

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

สำนักงานศูนย์บัณฑิตศึกษา

สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ …

ปรัชญา

    หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ ความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาในสังคมร่วมสมัย เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการและเสริมสร้างสันติสุข แก่สังคม โดยการกระตุ้นสร้างแรงจูงใจให้ทุกศาสนาหันมาศึกษาศาสนาของตนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้ว หันไปแสวงหาความร่วมมือระหว่างศาสนาโดยวิธีการสานเสวนาทางศาสนา เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่าง ศาสนา อันจะนําไปสู่การพัฒนาสังคมที่สันติสุขและยั่งยืน

ความสำคัญ

     การพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองทางสังคมและการเรียนรู้ทางศาสนาที่หลากหลาย เพื่อดํารง สืบสานพระราชปณิธาน และเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบกับศาสนาอื่นๆ  สามารถประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ  ด้วยรูปแบบและการเรียนการ สอนที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติตลอดถึงการพัฒนาหลักสูตรเน้นการพัฒนาทั้งปัจเจกบุคคล องค์กรทาง ศาสนา และสังคม ให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในทางศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษาและวิจัยวิชาการ ด้านศาสนาได้อย่างแตกฉาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นําสังคมด้านจิตใจและปัญญา สามารถนํา หลักธรรมคําสอนศาสนาต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาชีวิตทําความเข้าใจอันดี ระหว่างศาสนา  นิกาย และสร้างสันติภาพและเสริมสันติสุขแก่สังคม

รูปแบบของหลักสูตร

    -รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๒ ปี หรือไม่น้อยกว่า ๔ ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่เกิน ๑๐ ภาคการศึกษาปกติ(๕ปี)
    -ภาษาที่ใช้   การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย ส่วนตําราที่ใช้ในหลักสูตรเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    -การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตบรรพชิตและคฤหัสถ์ไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
    -ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอน เกี่ยวกับศาสนาเปรียบเทียบฯลฯ
    -การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียวคือ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

โครงสร้างหลักสูตร
๑) หมวดวิชาวิชาบังคับ
         ๑.๑ นับหน่วยกิต       ๙ หน่วยกิต
         ๑.๒ ไม่นับหน่อยกิต   (๙)* หน่วยกิต
๒) หมวดวิชาวิชาเอก    ๑๒ หน่วยกิต
๓) หมวดวิชาเลือก        ๖ หน่วยกิต
๔) วิทยานิพนธ์          ๑๒ หน่วยกิต
       รวม                  ๓๙    หน่วยกิต

     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๓๙ หน่วยกิตก์

การทำวิทยานิพนธ์

คําอธิบายโดยย่อ
    ๑ นิสิตจะเสนอหัวข้อและโครงร่างวิทยานิพนธ์ เพื่อขออนุมัติลงทะเบียนทําวิทยานิพนธ์ได้เมื่อศึกษารายวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ภาคการศึกษาปกติ และมีหน่วยกิตสะสมใน รายวิชาไม่น้อยกว่า ๙  หน่วยกิต
    ๒คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วย วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์
    ๓นิสิตมีสิทธิ์ขอสอบวิทยานิพนธ์ได้เมื่อศึกษารายวิชาครบตามที่กําหนดได้ค่าระดับ เฉลี่ยสะสมในรายวิชาไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ และทําวิทยานิพนธ์เสร็จสมบูรณ์ โดยใช้เวลาทําวิทยานิพนธ์ไม่ น้อยกว่า ๓ เดือน นับจากวันลงทะเบียนทําวิทยานิพนธ์เงื่อนไขอื่น ๆ เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตาม ระเบียบบัณฑิตวิทยาลัยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์
    ๔การเสนอหัวข้อและโครงรางวิทยานิพนธ์ การลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ การสอบ วิทยานิพนธ์  ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์

มาตรฐานผลการเรียนรู้

     นิสิตมีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ และหลักธรรมอย่างเป็นระบบ และมีหลักการ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ  ทั้งทางภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติเพื่อใช้ในการทําวิทยานิพนธ์ได้

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

สำนักงานศูนย์บัณฑิตศึกษา

      สาขาวิชา ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) ขึ้นมาเพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในมิติศาสนา ของตนและศาสนาต่างๆ ของบุคคลอื่นๆ ทั้งในด้านวิชาการ ทฤษฎี หรือองค์ความรู้ ด้วยการใช้ศาสตร์ หลากหลายสาขาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในด้านการปฏิบัติการด้วยการเข้าร่วมกิจกรรม จัดการสัมมนา สานเสวนา สร้างสัมพันธภาพทางศาสนาอันจักก่อให้เกิดความเข้าใจกันด้วยดี เปิดพื้นที่กิจกรรมเชิงสังคมพหุ วฒันธรรมศาสนาให้มากขึ้น ลดปัญหาความหวาดระแวง ขจัดความขัดแย้ง และอคติทางใจ ร่วมกันสร้างสรรค์ และพัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป

ปรัชญา

หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.) สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (ศปท.) มุ่งผลิตให้นิสิตในหลักสูตรเป็นบัณฑิตที่มีความรู้และเชียวชาญในหลักธรรมทางศาสนาของตนเองอย่างลึกซึ้งกว้างขวาง และเปิดใจกว้างสามารถศึกษา วิจัย ค้นคว้า บูรณาการ พัฒนาองค์ความรู้ขยายจากศาสนาของตนไปสู่ศาสนาต่างๆ ได้ อย่างเข้าใจในทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชยน์ต่อการพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัยและ องค๋กรความร่วมมือทางศาสนาต่างๆ เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นสากล อีกทั้งจะทำ หน้าที่เป็นแหล่งให้บริการความรู้เกี่ยวกับกับวิชาการทางศาสนา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอันจะก่อให้เกิด การพัฒนาความเข้าใจและสันติสุขแก่มวลมนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืนในอนาคต

ความสำคัญ

การพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองทางสังคมและการเรียนรู้ทางศาสนาที่หลากหลาย เพื่อดำรง สืบสานพระราชปณิธาน และเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาหรือลัทธิ ศาสนาตามความเชื่อของตน เปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ๆ สามารถประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ ด้วยรูปแบบและการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ ตลอดถึงการพัฒนาหลักสูตรเน้นการพัฒนาท้ัง ปัจเจกบุคคล องค์กรทางศาสนา และสังคม ให้มีความรอบรู้และเช่ียวชาญในทางศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์และวิจัยวิชาการด้านศาสนาได้อย่างแตกฉาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำสังคมด้านจิตใจและ ปัญญา สามารถนำหลักธรรมคำสอนศาสนาต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาชีวิตทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา นิกาย และสร้างสันติภาพและเสริมสันติสุขแก่สังคม

รูปแบบของหลักสูตร

-รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร ๓ ปี (แต่ไม่เกิน ๕ ปี)
-ภาษาที่ใช้ การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
-การรับเข้าศึกษา รับนิสิตบรรพชิตและคฤหัสถ์ไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
-ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะสถาบัน
-การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียวคือ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ๕๔ หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ : –
๑) หลักสูตรแบบ ๑.๑ (แบบ ๑) เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ทำดุษฎีนิพนธ์ จำนวน ๕๔ หน่วยกิต และศึกษาวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต จำนวน ๖ รายวิชา ทั้งนี้ให้ทางหลักสูตรฯ อาจกำหนดให้ศึกษาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วย กิต แต่ต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดตามโครงสร้างของหลักสูตร
๒) หลักสูตรแบบ ๒.๑ (แบบ ๒) เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยกำหนดให้ทำดุษฎีนิพนธ์ที่ มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการเฉพาะสาขา และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ทำดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต ศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต ทั้งนี้หลักสูตรฯ อาจกำหนดให้ศึกษา หรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต แต่ต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตามโครงสร้างของหลักสูตร

การทำดุษฎีนิพนธ์

คําอธิบายโดยย่อ
    ๑ นิสิตจะเสนอหัวข้อและโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ เพื่อขออนุมัติลงทะเบียนทําดุษฎีนิพนธ์ได้เมื่อศึกษารายวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ภาคการศึกษาปกติ และมีหน่วยกิตสะสมใน รายวิชาไม่น้อยกว่า ๙  หน่วยกิต
    ๒ คณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วย วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์
    ๓ นิสิตมีสิทธิ์ขอสอบดุษฎีนิพนธ์ได้เมื่อศึกษารายวิชาครบตามที่กําหนดได้ค่าระดับ เฉลี่ยสะสมในรายวิชาไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ และทําดุษฎีนิพนธ์เสร็จสมบูรณ์ โดยใช้เวลาทําวิทยานิพนธ์ไม่ น้อยกว่า ๓ เดือน นับจากวันลงทะเบียนทําดุษฎีนิพนธ์เงื่อนไขอื่น ๆ เกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์ให้เป็นไปตาม ระเบียบบัณฑิตวิทยาลัยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์
    ๔ การเสนอหัวข้อและโครงรางดุษฎีนิพนธ์ การลงทะเบียนดุษฎีนิพนธ์ การสอบดุษฎีนิพนธ์  ให้เป็นไปตามระเบียบบัณฑิตวิทยาลัย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์

มาตรฐานผลการเรียนรู้

     นิสิตมีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ และหลักธรรมอย่างเป็นระบบ และมีหลักการ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ  ทั้งทางภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติเพื่อใช้ในการทําดุษฎีนิพนธ์ได้