พระไตรปิฎกศึกษา (ป.ตศ.)
ใบประกาศนียบัตรพระไตรปิฏกศึกษา (ป.ตศ.)
หลักสูตรประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา
ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
……………………………………
๑.ชื่อหลักสูตร
๑.๑ ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : ประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา
๑.๒ ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Certificate Program in Tipitaka Studies
๒. ชื่อประกาศนียบัตร
๒.๑ ชื่อประกาศนียบัตรภาษาไทย : ประกาศนียบัตรภาษาไทย
๒.๑ .๑ ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา
๒.๒.๒ ชื่อย่อ : ป.ตศ.
๒.๒ ชื่อประกาศนียบัตรภาษาอีงกฤษ
๒.๒.๑ ชื่อเต็ม : Certificate Program in Tipitaka Studies.
๒.๒.๒ ชื่อย่อ : Cert.in Tipitaka Studies.
๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๔. ปรัชญาและเหตุผล
๕. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๕.๑ เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตร ให้มีความรู้ความเข้าใจ
วิชาการหลักคาสอนในพระไตรปิฎก สามารถนาหลักธรรมในพระไตรปิฎกในชีวิตประจาวันได้อย่างเหมาะสม
๕.๒ เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา ให้มี
ความรู้ความเข้าใจและสติปัญญา ให้เป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชนและสังคม
๕.๓ เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา ให้มี
จิตศัทธาอุทิศตนต่อการศึกษาพระไตรปิฎกศึกษา และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
๕.๔ เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตรพระไตรปิฎกศึกษา ให้มี
คุณวุฒิทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านพระพุทธศาสนา หรือให้มีความรู้หลักธรรมประวัติศาสตร์ และ
ความรู้อื่น ๆ ในพระไตรปิฎกศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาต่างๆ
ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยได้
๖. เกณฑ์การเปิดสอน
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมีความประสงค์จะเปิดสอน
หลักสูตรนั้น สามารถดาเนินการขออนุมัติโครงการเปิดสอนตามขั้นตอน คือ
๖.๑ ประสานงานกับภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ กองวิชาการ และกอง
แผนงาน สานักงานอธิการบดี เพื่อจัดทาโครงการเปิดสอนหลักสูตร
๖.๒ ขอความเห็นชอบเปิดหลักสูตรจากคณะกรรมการประจาคณะพุทธศาสตร์
๗. คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
๗.๑ เป็นพระภิกษุสามเณรหรือพระสังฆาธิการหรือพระสอนศีลธรรม หรือครูสอนพระปริยัติ
ธรรมและสาเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก หรือ
๗.๒ เป็นคฤหัสถ์สาเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก หรือ นักธรรมศึกษาชั้นเอก และเป็นผู้มี
ประสบการณ์ ในการทางานมาไม่ต่ากว่า ๒ ปี
๗.๓ เป็นคฤหัสถ์สาเร็จการศึกษาชั้น ม. ๖ หรือเทียบเท่าเป็นต้นไป
๗.๔ เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษเพื่อขอรับประกาศนียบัตรตามที่
สภาวิชาการเห็นชอบ
๘. กาหนดการเปิดสอน
เปิดทาการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
๙. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๑๐. ระบบการศึกษา
ใช้ระบบทวิภาค ( Semester Credit System ) โดยแบ่งเวลาการศึกษาในปีการศึกษา
ออกเป็น ๒ ภาคการศึกษา คือ
๑ ) ภาคการศึกษาที่ ๑ ( First Semester ) มีการศึกษาไม่ต่ากว่า ๑๕ สัปดาห์
๒ ) ภาคการศึกษาที่ ๒ ( Second Semester ) มีการศึกษาไม่ต่ากว่า ๑๕ สัปดาห์
๑๑. ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๑ ปี หรือต้องไม่ต่ากว่า ๒ ภาคการศึกษา แต่อย่างมาก
ไม่เกิน ๒ เท่าของระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร